ขั้นตอนการดูแลรักษาฮาร์ทดิส
เป็นที่รู้กันดีในหมู่ของผู้ที่ใช้ คอมพิวเตอร์ว่า ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนหัวใจ และสมองในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือหน่วยความจำต่าง ๆ ไปจนกระทั่งทำหน้าที่ในการส่งกระจายข้อมูลไปยังส่วนต่าง ๆ ของเครื่องให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปแล้วตัวของฮาร์ดดิสก์ จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านนอกหุ้มด้วยโลหะเพื่อป้องกันแผงวงจรซึ่งอยู่ภายใน ที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครื่อง พร้อมกับมีรูช่องเสียบสัญญาณหรือสายไฟ ซึ่งตัวของฮาร์ดดิสก์นี้ที่ถือเป็นหัวใจของเครื่องเนื่องจากเป็นตัวที่จดจำและควบคุมระบบการทำงานทั้งหมด แต่ก็มีความบอบบางเป็นอย่างมาก หากได้รับการกระทบกระแทก หรือหล่นลงพื้นอย่างแรงก็อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ซึ่งตัวของฮาร์ดดิสก์นี้จะทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลของงาน หรือไฟล์ โฟลเดอร์ต่าง ๆ ที่สำคัญในเครื่องไว้ภายใน จึงถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญ มีความซับซ้อน และมีความบอบบางมากที่สุด
ลักษณะการทำงานของฮารด์ดิกส์นั้นภายในจะมีแผ่น Aluminum Alloy Platter ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล รับคำสั่ง และส่งผ่านคำสั่งไปยังส่วนต่าง ๆ ด้วยอัตราหมุนแบบความเร็วสูง ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่ละรุ่นและสเปคของเครื่อง เมื่อเครื่องได้รับคำสั่งก็จะส่งข้อมูลไปยังตัวของPlatter ทีจะทำหน้าที่ในการอ่านข้อมูลบนแผ่นดิสก์ จากนั้นจะทำเขียนและอ่านข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ ก่อนจะทำการแปลงสัญญาณในรูปแบบของแม่เหล็ก แล้วเพิ่มสัญญาณทำการประมวลผลให้กลับมาเป็นข้อมูลอีกครั้ง
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสนั้น ประกอบด้วย
- หัวอ่าน (Head) ที่เปรียบเสมือนแขนในการอ่านหรือเขียนข้อมูลบนแผ่นแม่เหล็ก
- แขนหัวอ่าน (Actuator Arm) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาว รับคำสั่งจากวงจรให้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการ โดยทำงานร่วมกับจานแม่เหล็ก (Platters)
- จานแม่เหล็ก (Platters) จานแผ่นกลมเคลือบด้วยสารแม่เหล็กหลายชั้น เป็นแหล่งในการเก็บและบันทึกข้อมูลในลักษณะเลข 0 – 10
- มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก ((Spindle Motor) ตัวควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังทิศทางที่ต้องการ เพื่อบันทึกหรือแก้ไขข้อมูล โดยมีอัตราการหมุนประมาณ 7200 รอบต่อนาที
- เคส (Case) ตัวกล่องสี่เหลี่ยม ทำหน้าที่บรรจุส่วนต่าง ๆ ของฮาร์ดดิสก์ไว้ภายใน
ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนหัวใจของคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเป็นตัวที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกับสมอง หรือหัวใจในการทำงานของเครื่อง ที่ทำหน้าที่ในการสูบฉีดข้อมูลความจำทั้งหมดไปทุกส่วนการทำงานของเครื่องนั่นเอง ดังนั้นการดูแลฮาร์ดดิส (Harddisk) ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อยาวนาน และไม่ทำงานหนักจนเกินไปจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก
โดยสาเหตุที่ทำให้ฮาร์ดดิสก์เสีย หรือทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพนั้นมีตั้งแต่
- สาเหตุจากตัวฮาร์ดดิสก์ที่เสียมาจากขั้นตอนของการผลิต
- ฮาร์ดดิสก์หมดอายุการใช้งานซึ่งโดยทั่วไปจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3 ปี
- ฮาร์ดดิสก์หมดสภาพการใช้งาน หรือมีการใช้งานอย่างหนักทำให้กลไกเสื่อมจนหมดสภาพการใช้งาน
- ฮาร์ดดิสก์เสียหรือเกิดการปัญหาตก กระแทกเสียหาย เกิดไฟฟ้าลัดวงจร
- เกิดการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง เช่น ถอดปลั๊กในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่หรือดำเนินการ
คำถามต่อมาสำหรับหลาย ๆ คนคือ เราจะสามารถดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์อย่างไรให้สามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน เพราะแท้จริงแล้วการดูแลฮาร์ดดิสก์ให้ใช้งานได้นานนั้นไม่ใช่ในเรื่องของการได้รับการดูแลเครื่องจากบริษัทที่จำหน่ายคอมพิวเตอร์นั้น แต่กลับเป็นตัวของผู้ใช้งานหรือเจ้าของเครื่องที่จะต้องทำหน้าที่ในการดูแลรักษาเครื่องนั้นให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานได้อย่างยาวนาน โดยแนวทางในการป้องกันปัญหาและการดูแลรักษา สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
- เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์จากแหล่งผลิตที่มีความน่าเชื่อถือได้
- เลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ที่มีอายุในการใช้งานได้อย่างยาวนาน
- ไม่ทำการปิดเครื่องแบบกระทันหันบ่อย ๆ หรือทางที่ดี ควรรอให้เครื่องปิดให้สนิทก่อนจึงค่อยดึงปลั๊กออก
- ทำการตรวจสอบการทำงานของฮาร์ดดิสก์อย่างสม่ำเสมอ โดยทำการ Check Disk เพื่อตรวจสอบการทำงานของเครื่องอย่างสม่ำเสมอเพื่อช่วยให้ฮาร์ดดิสมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น
- ทำการ Defragment เพื่อช่วยให้กลไกการทำงานต่าง ๆ ของฮาร์ดดิสก์ให้น้อยลงหรือชำรุดสึกหรอกน้อยลง ส่งผลให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น
- การสำรองข้อมูล ไว้ใน External หรือแหล่งเก็บข้อมูลข้างนอก เพื่อช่วยการทำงานของเครื่องให้สามารถทำงานได้สะดวกมากขึ้นและไม่หนักจนเกินไป
กู้ข้อมูลฮาร์ดดิส WD ( Western Digital )
หนึ่งในฮาร์ดดิสยี่ห้อดังที่เป็นที่นิยมคือ WD ซึ่งเป็นฮาร์ดดิสที่มีความคงทนสูง ใช้งานได้ดี แต่บางครั้งในการใช้งานอาจจะมีโชคร้ายให้เกิดปัญหาซึ่งทำให้ตัว Harddisk ปัจจัยของของความเสียหายเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมาก ไม่ว่าจะมาจากการไฟฟ้ากระชาก ไฟฟ้าลัดวงจร หรือมีการกระแทกตกหล่น